ประมวล MUT 2023 “รอบชุดประจำชาติ” สวยทรงพลัง ไอเดียเก๋

ลิงก์ชมสด MUT 2023 รอบตัดสิน “พีพีทีวี” ถ่ายทอดสด ชมโชว์ “เป๊ก ผลิตโชค – พีพี กฤษฏ์”

สร้างความฮือฮา ตื่นตาตื่นใจอย่างมาก สำหรับการประกวด “มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2023” (Miss Universe Thailand 2023) ในรอบ “ชุดประจำชาติ” (National Costume) ค่ำคื่นวันที่ 19 สิงหาคม 2566 โดยมีเข้าตาคณะกรรมการ ลุ้นเป็นที่หนึ่ง “ชุดประจำชาติไทย” ไปเวที Miss Universe ปลายปีนี้

“พีพีทีวี” ประมวลภาพทั้ง 53 สาวงามที่ออกมาอวดโฉม “ชุดประจำชาติ” และเปิดทแรงบันดาลใจของแต่ละสุดให้ได้ดูกัน ดังนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 ประมวล MUT 2023 “รอบชุดประจำชาติ” สวยทรงพลัง ไอเดียเก๋

เคาะ! 10 ชุดเข้ารอบ ลุ้นเป็น “ชุดประจำชาติไทย” สู่เวทีจักรวาล Miss Universe

MUT01 “ลิซ่า – ลัชชา เอลิซา แซงแกง ชุดสง่างามสมศักดิ์ศรี

ออกแบบโดย : อภิชาต สะอาดถิ่น ห้องเสื้อสมคิดเวดดิ้งแอนด์สตูดิโอ ชัยภูมิ

แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจากไข่มุก ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง และเป็นตัวแทนของความนุ่มนวล อ่อนหวาน และความสงบ มีความเชื่อกันว่าไข่มุกจะนำความรัก ความสุข และความสำเร็จมาสู่เจ้าของนั่นเอง

MUT02 “ซาร่า – สุภัสสรา สุปัญญา” ชุดศิวาลัยในใจแม่

ออกแบบโดย : พร้อม ภรากร นวมอารีย์ ห้องเสื้อตรีชฎา

แรงบันดาลใจ : จากชุดไทยพระราชนิยมของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง นำมาประยุกต์เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดความเป็นไทยให้ทุกคนได้รู้จัก นี่คือชุดไทยของแม่

MUT 03 ยโสธร “ทีมิว – กรธนพรรณส์ แชมเบอร์ส” ชุดเซิ้งบั้งไฟถวยแถน แอนแอวขอฝน

ออกแบบโดย : คิษฐพล ใจซื่อและนายวัชรชัย ใจมีพร ห้องเครื่องพัสตราภรณ์มหาสารคาม

แรงบันคาลใจ : บุญบั้งไฟโก้ยโสธร เป็นประเพณียิ่งใหญ่และเป็นอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของชาวยโสธรมาอย่างยาวนาน "การเซิ้งบั้งไฟ" เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์การบอกบุญ เพื่อเริ่มต้นการจุดบั้งไฟในพิธีขอฝน การออกแบบชุดไส่แรงบันคาลใจจากการแต่งกายชุดเซิ้งบั้งไฟที่สวยงามโคคเด่น นำมาต่อยอด สืบสาน ถ่ายทอคเรื่องราว ความเชื่อ และวิถีชีวิตเกษตรกรรมชาวอีสานที่ผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานพญาคันคากและพญาแถน ถ่ายทอดเป็นชุดประจำชาติมิสยูนิเวิร์สยโสธร เผยแพร่ให้ทั่วโลกให้เห็นถึงคุณค่าด้านภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมสืบสานมาอย่างยาวนาน

MUT04 “วีนา – ปวีนา สิงห์ทักวาล” ชุดบุปผาราชินีศรีศิวาลัย

ออกแบบโดย : ดร.สรรค์ สุดเกตุ (ห้องเสื้อวนัชกูตูร์)

แรงบันดาลใจ : มาจากดอกไม้ที่งดงามที่มีนามตามพระนามาภิไธย “สิริกิติ์” ดอกไม้นามพระราชทาน และดอกไม้ทรงโปรดของสมเด็จพระพันปีหลวง หรือเรียกว่า “บุปผาราชินี” นำมาผสมผสานกับ ”ชุดไทยศิวาลัย” หนึ่งในชุดไทยพระราชนิยมที่พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่ม

MUT05 “เอมลิน – เอมมาลิน พิชญอมร” ชุดจรัสแสงแห่งเมืองสยาม

ออกแบบโดย : สนธยา นิ่มพระยา ห้องเสื้อ Luciano Couture

แรงบันดาลใจ : การแต่งกายในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัฒนธรรมตะวันตกนั้นรุ่งเรือง ผสมผสานเครื่องแต่งกายชุดไทยศิวาลัย ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยใช้รูปแบบงานปักแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ไว้ด้วยกัน เพื่อบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองทางหัตถศิลป์ของชาวสยามที่มีมาแต่โบราณให้ชาวต่างชาติได้รู้จักและเป็นมรดกตกทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน

MUT06 “พิม – วนิดา สุวรรณาภา” ชุดตะเลงพ่าย

ออกแบบโดย : สามสายร์สตูดิโอ อยุธยา

แรงบันดาลใจ : การทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ จ.สุพรรณบุรี ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นละครหุ่นกระบอก โดย อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต เรื่องตะเลงพ่าย จึงได้นำความสวยงามของ เครื่องแต่งกายหุ่นกระบอกมาออกแบบ สื่อถึงความงามอ่อนช้อยแฝงด้วยการต่อสู้เสมือนว่า การมาประกวดในครั้งนี้ จะนำชัยชนะกลับไปยัง จังหวัดสุพรรณบุรี

MUT07 “มีน่า – แอสมีน่า รังสิมา ซิมสัน” ชุดวิจิตรศิลป์

ออกแบบโดย : อภิชาต สะอาดถิ่น ห้องเสื้อสมคิดเวดดิ้งแอนด์สตูดิโอ ชัยภูมิ

แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง ชุดไทยศิวาลัย โดยการนำความเป็นไทย ยกลายดอกลำพูนมาปักเป็นลายหลักของชุด เสริมสร้างความสง่างามแบบไทยต่อสายตาประชาโลก

MUT08 “รูบี้ – พลอยไพลิน ล้ายบ์” ชุด Royal Ruby of Siam

ออกแบบโดย : ชัยพร สายสุโชค ห้องเสื้อเลียนบุราณ

แรงบันดาลใจ : ถ่ายทอดผลงานชุดไทยตามอย่างโบราณที่เน้นเครื่องแต่งกายและวิธีนุ่ง ห่ม แบบโบราณ ร้อยเรียงผ่านเรื่องราวของผ้าลายอย่าง เป็นชุดประจำของราชสำนักฝ่ายในที่ใช้ออกงานเต็มยศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยสีชุดเเละเครื่องประดับเน้นเป็นสีเเดงทับทิม สอดคล้องกับตัวผู้สวมใส่

MUT09 “ณิชา – ณิชา พูลโภคะ” ชุดศิวาลัยกินนรา

ออกแบบโดย : ภิรญา จิตต์มั่น

แรงบันดาลใจ : ได้แรงบันดาลใจจาก ชุดศิวาลัยหนึ่งในชุดไทยพระราชนิยม ของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผสานความอ่อนช้อยของตัวละคร “กินรี” ในวรรณคดีไทยใช้ผ้าไหมยกดอกจังหวัดลำพูนในการตัดเย็บ และใช้เทคโนโลยี Laser cut ฉลุลายไทยล้านนาบนสไบและเครื่องประดับ

MUT11 “ข้าวฟ่าง – พิชญดา ขุนทอง” ชุดกุสุมา

ออกแบบโดย : พิมพ์มาดา บุญยรัตน์

แรงบันดาลใจ : กุสุมา (ดอกไม้อันทรงเกียรติ) คือ concept หลักในการออกแบบชุดบาบ๋าย่าหยา ซึ่งเป็นชุดทางวัฒนธรรมลูกผสมของทางภาคใต้ ที่มีการปรับประยุกต์ในดีไซน์ แต่คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างครบเครื่อง แสดงถึงความเลอค่าของหญิงงาม ด้วยเครื่องประดับต่างๆตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า นำเสนอผ่าน ข้าวฟ่าง RanongOriginal ฝีมือออกแบบโดยนักเรียนและร่วมตัดเย็บโดยพี่ป้าน้าอาในจังหวัดระนองทั้งหมด

MUT12 “ญาดา เถกิงเดช” ชุดสยาม พัฒตราภรณ์

ออกแบบโดย : บ้านคุณอาทชุดไทย นายยุทธศัก นิ่มนวล

แรงบันดาลใจ : ชุดไทยพระราชนิยม สองแบบ ไทยดุสิตและไทยจักกรี โดยนำแบบตัวเสื้อของชุดไทยดุสิต และแบบการห่มสไบของชุดไทยจักกรี มาผสมผสนเป็นตัวเสื้อห่มสไบสองชาย เพิ่มความสง่างามแก่ผู้สวมใส่ ตัดเย็บจากผ้าไหมยกดอกลำพูน มาตรฐานตรานกยูกพระราชทาน ปักตกแต่งด้วยลูกปัดเม็ดทอง ลายเอกประจำยาม

MUT13 “พราว – พิมพ์ลภัส ชื่อมณีสวรรค์” ชุดโกไสยวัตถาภรณ์ บวรแจ้งอรุณ

ออกแบบโดย : ผู้ออกแบบ ห้องเสื้อนาคราช สตูดิโอ และ ห้องเสื้อพี พละ

แรงบันดาลใจ : ชุดไทยจักรีเป็นหนึ่งในชุดประจำชาติไทยที่ผู้คนทั่วโลกรู้จัก จึงได้หยิบยกสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของประเทศไทย นั่นก็คือวัดอรุณมาผสมผสานเข้ากับชุดไทยจักรีตัวชุดตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีขาว โดยลวดลายที่ปรากฏบนตัวชุดเป็นลวดลายตามเเบบแผนผังสถาปัตยกรรมของวัดซึ่งถอดลวดลายมาจากพระปรางค์วัดอรุณบรรจงร้อยเรียงปักประดับไปด้วยคริสตัล

MUT 14 “มิน – วรวลัญช์ พุฒกลาง” ชุดThe Glory of Thai

ออกแบบโดย: กฤษณะ ดาวสวย ห้องเสื้อ หงสาวดีเชียงใหม่

แรงบันดาลใจ : “ชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากฉลองพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยการฉลองพระองค์ผ้าถุงห่มสไบ บวกกับแรงบันดาลใจจากดอกประดู่ ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้รังสรรค์เป็นชุดนี้ โดยได้นำเทคนิคและแมททีเรียลตกแต่งเป็นผ้าถุงทรงจีบหน้านาง และได้นำเทคนิคดอกไม้ไหวที่ทำมาจากวัสดุทองเหลือง ซึ่งมีความสวยงามและวิจิตรบรรจง อีกทั้งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีคุณูปการอย่างยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งชุดไทย สืบทอดมาจนปัจจุบัน”

MUT15 “จ๋อมแจ๋ม – ญาศุมณ อรรคะเศรษฐัง” ชุด REMIND THE QUEEN

ออกแบบโดย : ศิวาลัย ระโหฐาน

แรงบันดาลใจ : ชุดได้แรงบันดาลใจจากฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้เป็นที่ยอมรับว่าเป็น FASHION ICON ของวงการแฟชั่นทั้งในประเทศไทยและระดับโลกพระองค์ยังทรงเป็น SOFT POWER ของการหยิบเอาผ้าไหมไทย และผ้าท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้และตัดเย็บให้เข้ากับแฟชั่นทุกชุดอย่างลงตัว ทีม MUT NAKHONPHANOM ขอน้อมรำลึกถึงพระจริยาวัตรอันงดงาม และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อวงการผ้าไทยอย่างหาที่สุดมิได้

MUT16 “จอย – ศจี คันธยศ” ชุดทอแสงแยงเงา

ออกแบบโดย : เขม เขมรินทร์ โชติภาเจริญการ

แรงบันดาลใจ : แสงและเงาที่ทอดผ่านการแสดงพื้นบ้าน หนังตะลุง บอกเล่าเรื่องราวผ่านเงาที่ตกกระทบ จากหนังที่ถูกฉลุหรือแยงในภาษาใต้ โดยชุดนี้ใช้วัสดุยีนส์เหลือใช้ในการผลิตทั้งหมด

MUT17 “เคธี่ – แคทริน่า ลลิตา คอสทรูคอฟฟ์” ชุดกาญจนเบญพาด

ออกแบบโดย : ธีร์ ผาสุก

แรงบันดาลใจ : การถักธงใยแมงมุม ของประเพณียกธงสงกรานต์บ้านเบญพาด อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ชาวบ้านจะมาช่วยกันทำธงเพื่อไปถวายวัด นอกจากความสนุกสนานของประเพณียังแฝงคติและความเชื่อ ได้นำโครงสร้างของชุดไทยราชนิยมมาเป็นต้นแบบและใช้ธงใยแมงมุมกว่า 500 ชิ้น และตกแต่งด้วยSwarovski สร้างความระยิบระยับจนเกิดเป็น ผลงานชื่อ “กาญจนเบญพาด” (กาน -จะ นะ- เบญ -ยะ- พาด )

MUT18 “พิ้งกี้ – กรรณิการ์ เสงี่ยมงาม” ชุดอรุณราชนารี สตรีศรีสยาม

ออกแบบโดย : วิษณุ ผลบุญ โดยร้าน PN Wedding ศรีสะเกษ

แรงบันดาลใจ : แสงประกายยามรุ่งอรุณแห่งเมืองสยาม สาดส่องเจิดจรัสกระทบผืนน้ำเจ้าพระยา ที่ตั้งตระหง่านชวนให้หลงใหลผ่านกาลเวลามานับร้อยปี จึงได้หยิบยกเอาเเสงเช้าของอรุณรุ่ง พร้อมด้วยลวดลายอันวิจิตร มาทำเป็นชุดไทยศิวาลัย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยของสตรีศรีสยาม

MUT19 “นาเดีย – เหมือนฝัน เสลาหอม” ชุดราชินีแห่งน้ำฝน

ออกแบบโดย : อภิชาต สะอาดถิ่น ห้องเสื้อสมคิดเวดดิ้งแอนด์สตูดิโอ ชัยภูมิ

แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ดอกกระเจียว ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิ ดอกกระเจียวจะบานสะพรั่งสวยงามเพียงแค่ช่วงฤดูฝนของทุกปี เปรียบเสมือนความสวยงามที่ต้องตั้งตารอคอยเพื่อที่จะได้เห็น จึงถือได้ว่า ดอกกระเจียวเป็นราชินีแห่งน้ำฝนนั่นเอง

MUT 20 “แจ๊สซี่ – กิระนา จัสมิน ชูว์เทอร์” ชุด THE KIRANA

ออกแบบโดย : ประภากาศ อังศุสิงห์

แรงบันดาลใจ : The Kirana คือการออกแบบเครื่องแต่งกายที่ผสมผสานความร่วมสมัยและความวิจิตรงดงามของชุดไทยศิวาลัยได้อย่างลงตัว รายละเอียดการตกแต่งของชุดและโทนสียังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึง ความเขียวขจี ความยิ่งใหญ่ของขุนเขาที่โอบล้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลิ่นอายของเครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์มาประกอบทำให้ ชุด the kirana สมบูรณ์แบบและสง่างามเป็นอย่างยิ่ง

MUT21 “โบอิ้ง – ธัญญ์นภัส มงคล” ชุด Kram Silk Sivali

ออกแบบโดย : นะกะวี ด่านลาพล

แรงบันดาลใจ : ไหมและฝ้ายย้อมครามธรรมชาติ คุณค่าหัตถศิลป์สกลนคร 6 เฉดสีนำเสนอเทคนิคผ่าน โครงชุดอันโดดเด่นแบบสมัยรัชกาลที่5 ออกแบบ รังสรรค์ โดยชาวสกลนครทั้งหมด

MUT22 “ช่า – นาตาช่า เนียลเซ่น” ชุดบ้านนา

ออกแบบโดย : ธีรภัทร คชพันธ์

แรงบันดาลใจ : บ้านนา ชื่อเดิมของจังหวัดนครนายก จึงได้นำวิถีชีวิตการทำไร่ทำนา มาเสนอถ่ายทอดผ่านทางชุดประจําชาติไทย เพื่อเป็นการยืนยันถึงเสน่ห์ของประเทศอู่ข้าวอู่น้ำที่อุมสมบูรณ์ ดังที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

MUT23 “สิริ – ชิณณัชฌาญ์ ประยูรศิริ” ชุดสีโหมณฑา

ออกแบบโดย : ลลิดา ตันกำเนิดไทย

แรงบันดาลใจ : ได้แรงบันดาลใจมาจาก ชุดนี่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณกรรมเรื่อง "สินไซ" ภาพจิตรกรรมบนผนังโบสถ์ “ฮูปแต้ม” จากวัดไชยศรี (วัด-ไช-สี) จังหวัดขอนแก่น นำเสนอชุดและเครื่องประดับ ผ่านตัวละครในวรรณกรรม โดยนำรูปแบบการแต่งกายของนางสุมณฑา(สุ-มน-ทา) มาผสมผสานกับลวดลายของตัวสีโห นำมาปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดรูปแบบใหม่ ดูโดดเด่นและสะดุดตามากยิ่งขึ้น

MUT24 “แพม – สรัญพัชร์ เกษมณีพงศ์” ชุดแม่หมอแห่งสด๊กก๊อกทรม

ออกแบบโดย : ห้องเสื้ออึ่งอ่างปาจิงโกะโอ๊บๆ

แรงบันดาลใจ : การแต่งกายจะอยู่ในยุคสมัยทวารวดี สื่อถึงผู้นำที่เป็นแหล่งรวมจิตใจของชาวบ้าน ทีอยู่ภายใต้ความศรัทธาในทุกเรื่อง รักษาโรคภัยปัดเป่าความชัว่าร้าย รวมไปถึงเมตตามหานิยม สื่อสารผ่านรอยสักในตัวเครื่องประดับและชุด เป็นลายสักษณ์ที่เป็นคุณเมตตาและเป็นที่นิยมและรู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก

MUT25 “น้ำอิง – สุทธิดา เอียดปู” ชุดนครหัตถศิลป์

ออกแบบโดย : ธีรภัทร คชพันธ์

แรงบันดาลใจ : ย่านลิเภา หัตถศิลป์ชั้นสูงที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับมาตั้งแต่อดีตนำมานำเสนอถ่ายทอดผ่านชุดประจำชาติไทยผสมผสานเข้ากับชุดไทยดุสิตและแฟชั่นตามยุคสมัย เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์อันดีให้กับจังหวัดนครศรีธรรมราช ดังที่ว่า นครหัตถศิลป์

MUT26 “ต้นตาล – บุรินทร์ทิพย์ พุทธลา” ชุดความสง่างามแห่งสตรีสยาม

ออกแบบโดย : อภิชาต สะอาดถิ่น ห้องเสื้อสมคิดเวดดิ้งแอนด์สตูดิโอ ชัยภูมิ

แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก สามกษัตริย์ ประกอบไปด้วย เงิน ทอง นาก ซึ่งเป็นของมงคลสามอย่างที่เป็นสิ่งที่สูงส่ง และมีค่ามาตั้งแต่โบราณ จึงเป็นการนำโลหะธาตุที่เป็นมงคลมารวมกัน กลายเป็นของมีอำนาจมาก จึงบัญญัติศัพท์ ขึ้นแทนธาตุทั้งสามว่า “สามกษัตริย์”

MUT27 “นลิน – ฉัตร์ณลิณ โชติจิรวราฉัตร ชุดเทวสตรี ศรีอโยธยา

ออกแบบโดย : กมลรส ทูลภิรมย์ ห้องเสื้อ ทรงเสน่ห์ผ้าลายอย่าง

แรงบันดาลใจ : ได้แรงบันดาลใจจากเทวรูปสัมฤทธิ์พระธรณี และเครื่องทรงพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาตัวโครงชุดประดิษฐ์จากงานหัตถกรรมดิ้นสอดลวด ประดับด้วยหินธรรมชาติแท้ ให้สอดคล้องกับหลักธรณีวิทยา และผ้าลายอย่างเขียนลวดลายในยุคนั้น

MUT28 “ฐา – วรนิษฐา โรหิตจันทร์” ชุดนาคเทวีอัญมณีแห่งแม่น้ำโขง”

ออกแบบโดย ออกแบบโดย คุณโดโด้ WIND LOVE WEDDING

แรงบันดาลใจ : นาคาแลนด์ แดนหนองคาย ถูกขนานนามว่าเป็นอัญมณีแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ออกแบบชุดด้วยลวดลายพญานาค ซึ่งเป็นสัญลักษณปู่อินทร์นาคราชเป็นแลนด์มาร์ค พญานาคจังหวัดหนองคาย โดยลวดลายการปักชุดสีทองคำ สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองในสายแม่น้ำโขงดั่งอัญมณีเมืองหนองคาย

MUT 29 “มิ้ว – ศิริประภา อินทรศรี” ชุดโถโลโปตี

ออกแบบโดย : ทอไทย เฮ้าส์

แรงบันดาลใจ : รูปปั้นโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่ขุดค้นพบบริเวณเมืองคูบัว ราชบุรี นำเสนอเครื่องแต่งกายสตรีสมัยทวารวดีโดยเชื่อมโยงศิลปะอุษาคเนย์ จากเส้นทางการค้าและเส้นทางเผยแพร่พุทธศาสนาสู่ ชุดโถโลโปตี

MUT30 “มุก – ชนิกานต์ สังวาลย์พานิช” ชุดไทยทรงดำ

6. ออกแบบโดย : นราวิชญ์ แขดวง

7. แรงบันดาลใจ : การแต่งกายของชาวชาติพันธุ์ ไทยทรงดำ ด้วยการทอผ้าด้วยมือและยังคิดค้นลายของผ้ามานานกว่า 200 ปี ที่เรียกกันว่า ผ้าซิ่นลายแตงโม วัสดุต่างๆที่นำมาทอผ้า รวมไปถึงอุปกรณ์การทำชุดนั่น มาจากวัสดุจากธรรมชาติซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นเอง

MUT31 “แอนโทเนีย – แอนโทเนีย โพซิ้ว” ชุดอโยธยาอมรานิรมิต

ออกแบบโดย : ภูษาผ้าลายอย่าง โดย อาจารย์ธนิต พุ่มไสว และคุณศิวกร เกษรราช

แรงบันดาลใจ : ความงามของสตรีสูงศักดิ์สมัยอยุธยาตอนปลาย ถ่ายทอดผ่านงานหัตถศิลป์ไทย ฝีมือคนรุ่นใหม่ ใช้สีส้มประจำจังหวัดนครราชสีมา เป็นโทนสีหลัก นำดอกสาธรดอกไม้ประจำจังหวัด ออกแบบเป็นลายผ้าเขียนทอง “ลายสร้อยผกาสาธร” เขียนด้วยยางมะเดื่อปิดทองคำแท้ทั้งผืน นับเป็นภาพสะท้อนอดีต เพื่อรักษาให้งานศิลป์แผ่นดินได้สืบทอดชั่วลูกสืบหลาน

MUT33 “บ๊ะจ่าง – วิภาวี คำสัตย์” ชุดนารีศรีสุโขทัย

ออกแบบโดย : มงคล โคมพิทยา และคุณวิสันต์ สนิทนิตย์ (บีบี เวดดิ้ง สตูดิโอ จังหวัดสุโขทัย)

แรงบันดาลใจ : รุ่งอรุณแห่งความสุข เมืองมรดกโลก เมืองลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ผสมผสานเอกลักษณ์ ผ้าซิ่นตีนจกศรีสัชนาลัย ปักลวดลายปลาที่สไบจากลายสังคโลก เรียงเมล็ดพืชบนเครื่องประดับ ตั้งเหนือเกล้าทรงเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ และปักเป็นลวดลายตลอดทั้งชุด ด้วยสีประจำจังหวัด เหลือง เขียว แดงอันงดงาม

MUT 34 “ทาช่า – นาทชา เพอไวแอ๊น์” ชุด ในน้ำมีปลา

ออกแบบโดย : ห้องเสื้อ Thee-Si Couture นายธิติ ชนะชัย

แรงบันดาลใจ : ไทยชุดศิวาลัยในครั้งเมื่อพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถพันปีหลวง เสด็จเยือนต่างประเทศสมเด็จท่านทรงประยุกต์ฉลองพระองค์ ให้เข้ากับสภาพอากาศ และวโรกาสต่างๆที่เสด็จไป โดยใช้ผ้าไหมไทยในการตัดเย็บ ลวดลายการปักตกแต่งประยุกต์จากลายสานปลาตะเพียน เพราะเชื่อว่าปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ แข็งแรง ผู้ใหญ่จึงมักแขวนปลาตะเพียนสานไว้เหนือเปลทารกแรกเกิดเพื่อเป็นการอวยพร จึงเป็นที่มาของชุด “ในน้ำมีปลา”

MUT35 “น้ำผึ้ง – กานต์ธีรา เตชะภัทรธนากุล” ชุดชาติพันธุ์ไทยใหญ่

ออกแบบโดย : สกุลจันทร์

แรงบันดาลใจ : สะท้อนจากตัวตนของน้ำผึ้ง แสดงออกถึงเอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญา และความงดงามแห่งชาติพันธุ์ไทยใหญ่

MUT36 “มิ้น – เบญจมินทร์ กระจ่างฉาย” ชุด : Yodia (โยเดีย)

ออกแบบโดย : อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อ ANUWAT

แรงบันดาลใจ : จากภาพจิตรกรรมไทยบนสมุดข่อย ความงดงามของภาพเขียนที่สะท้อนคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ และสะท้อนคตินิยมในสมัยอยุธยา ถูกรังสรรค์ถ่ายถอดงานภาพจิตรกรรมให้มีชีวิต ปลุกความงามจากปลายพู่กัน สู่งานชุดประจำชาติไทย ที่สอดประสานความงามตามแบบอย่างงานจิตรกรรมไทย ผนวกเข้ากับรูปแบบพัสตราภรณ์ย้อนอดีตของอิทสตรีผู้สูงศักดิ์แห่งอาณาจักรอยุธยา

MUT37 “เจนนี่ – เจนนิเฟอร์ โจนส์” ชุดนาฎมวยไชยาสยาม MUAY CHAIYA OF SIAM

ออกแบบโดย : ห้องเสื้อ WASA COUTURE นายวัฒนา เสมอชาติ

แรงบันดาลใจ : “มวยไชยา” เป็น ศิลปะการต่อสู้ของไทยโบราณ ที่แสดงถึงความสวยงามทางศิลปะวัฒนธรรม การแต่งกายของมวยไชยา จะเป็นการนุ่งเตี่ยวด้วยผ้า 2 ชิ้น และยังได้นำผ้าไหมพุมเรียง อันเป็นอัตลักษณ์ของสุราษฎร์ธานี มารังสรรค์บนตัวชุด รวมไปถึงการใช้วัสดุฝ้ายดิบ และเชือกกาบกล้วย ในการคาดเชือกของการต่อสู้ ดังนั้น ชุดมวยไชยา จึงสื่อถึง ความเป็นเลือดนักสู้ ผู้หญิงที่เพรียบพร้อมเพื่อชัยชนะ แห่งสยามประเทศ

MUT38 "แป้ง – อัชฌาณัฐ สวัสดิ์เดชา"ชุดเสลานารีศรีสวรรค์ ออกแบบโดย : เกศินี กล่ำอยู่สุข Finale wedding studio แรงบันดาลใจ : ดอกเสลาซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ได้นำลายของดอกเสลามาปักลงบนผ้าไหมไทยเพื่อสื่อให้ถึงจังหวัดนครสวรรค์และมีการนำเกล็ดปลามาประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับ และตกแต่งบนชุด แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ของเมืองแม่น้ำ4 สาย

MUT39 "แสงดา – อเล็กแซนดร้า เดอ กรองเซ่" ชุดบุหงา เปอรานากัน ออกแบบโดย : คุณเบสท์ ณัฐดนย์ แรงบันดาลใจ : จากชุดแต่งงานเจ้าสาวบ่าบ๋า ในวัฒนธรรมของชาวเปอรานากันกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนฮกเกี้ยน ก่อเกิดเป็นเอกลักษณ์ความงามฝั่งอันดามัน ผสมผสานกับแฟชั่นที่ทันสมัย เพื่อสื่อถึงความเป็นสตรีเปอรานากันยุคใหม่ โดยตัวชุดปักลวดลายลูกไม้ ดอกไม้นานาชนิด ผสมเทคนิคสกรีนลาย ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผ้าปาเต๊ะ และปักลูกปัดมุก บอกเล่าเรื่องราวของสาวงามฝั่งอันดามัน โดยชื่อเปอรานากัน มีความหมายว่า “เกิดที่นี่”

MUT40 "อลิ – อลิสา อรุณะหิรัญ" ชุดไทยจักรี ออกแบบ : วงศ์สถิตย์ ชัยเนตร แรงบันดาลใจ : สวยอย่างไทย เรียบง่าย และมีคุณค่า การออกแบบ และการตัดเย็บชุดที่มีความละเอียดอ่อน แต่ยังคงไว้ซึ่ง เอกลักษณ์ของชุดไทยดั้งเดิม ที่มีคุณค่าและคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์อันยาวนานควรค่าแก่การอนุรักษ์

MUT41 "สายฝน – พิชชาวรรณ พรมทัน" ชุดนุ่งยกห่มตาด แบบโบราชประเพณี ออกแบบโดย : วงศ์สถิตย์ ชัยเนตร แรงบันดาลใจ : ชุดผ้าไทยโบราณ สื่อถึงความเป็นไทยการนุ่งห่มในสมัยก่อน แบบโบราณราชประเพณี

MUT42 "ฟ้า – จิณณ์พัชญ์ชา กนกรัตนาธรรม"ชุดเขลางค์ราชนารี หรือ Queen of Lanna ออกแบบโดย : ห้องเสื้อนิศรา แรงบันดาลใจ : ได้มาจากหลักฐานงานศิลปกรรมที่พบในเขตจังหวัดลำปาง เช่น งานไม้เเกะสลักกิจกรรมตุงค่าวเครื่องทองโบราณ ที่พบในเมืองเชียงเเสน เเละการเเต่งกายของสตรีล้านนา รวมไปถึงการพื้นฟูทอผ้าซิ่นตีนจกเมืองลำปางขึ้นอีกครั้งโดยการเลียนแบบโบราณ อายุรวม 200 ปี

MUT43 "พิพราว – นิธิวรรณ ฝนทิพย์"ชุดสมบูรณ์แบบดั่งดอกกุหลาบ ออกแบบโดย: อภิชาต สะอาดถิ่น ห้องเสื้อสมคิดเวดดิ้งแอนด์สตูดิโอ ชัยภูมิ แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ดอกกุหลาบจูเลียต ซึ่งมีสีพีชและไล่สีออกไปทางสีขาว เรียงซ้อนกันตามกุหลาบโบราณ เป็นดอกกุหลาบที่มีราคาแพงที่สุดในโลก จึงได้นำสีของดอกกหุลาบจูเลียตมาไล่สีเป็น 2 สี สร้างความสวยงามให้กับผู้สวมใส่ดุจดั่งความสมบูรณ์แบบของดอกกหุลาบ

MUT44 "กวาง – วรดา ฉัตรศรี" ชุดเลิศวิสุทธิ์บุษบรรณ ออกแบบโดย : นิสสรณ์ วิลาวรรณ์ ห้องเสื้อ Nisara traditional boutique แรงบันดาลใจ : เครื่องแต่งกายได้รับแรงบันดาลใจจากการแต่งกายละครรำของไทย อันเป็นอัตลักษณ์ประจำชาติ นำเสนอถึงความเชื่อ ความศรัทธาที่คนไทยได้ใช้การแสดงรูปแบบดังกล่าว เพื่อแก้สินบนบานศาลกล่าวต่อท้าวมหาพรหม(หน้าโรงแรมเอราวัณ) อันเป็นที่ประทับใจต่อชาวต่างชาติ จนได้มากราบไหว้บูชากันไม่ขาดสาย

MUT45 "ฬักษณ์ – อัญพัชญ์ ภักดีณรงค์รัตน์"ชุดบุหรา พัสตรานารี ออกแบบโดย : ร้านวินด์เลิฟเวดดิ้ง ชลบุรี แรงบันดาลใจ : ชุดลายดอกโบตั๋น เป็นดอกไม้มงคลของประเทศจีน ยังหมายถึงความสวยงามของผู้หญิง และในด้านความรัก สื่อถึงความรักใคร่ของหนุ่มสาวและความสุข ในอดีตเมืองชลบุรีเดิมชื่อว่าเมืองบางปลาสร้อย ซึ่งในอดีตมีชุมชนชาวจีนอาศัยอยู่เป็นกระจุกแบบกระจายทำให้จังหวัดชลบุรีมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นวัดศาลเจ้าตลาดก็ได้วัฒนธรรมของจีนเข้ามาผสมผสานไว้กับความเป็นไทย

MUT46 "เอิร์ธ – กรประภา พลเขต" ชุดธิดานาข้าวไทย ออกแบบโดย : นาย กริชทอง ช่างเหล็ก และ นาย ศิวาวุธ วิบูลย์พันธุ์ ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อ SashaKritz ( ซาช่า กิต ) แรงบันดาลใจ : ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เป็นผลผลิตที่เกิดจากการทำนาของชาวนา โดยต้องดูแลเอาใจใส่ ต้องอดทน หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ซึ่งคนไทยมีความเชื่อกันว่าเทพธิดาผู้คอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม คือ พระแม่โพสพ

MUT47 "กรองทอง – กรองทอง จันทรสมโภช" ชุดโสกันต์ ออกแบบโดย : ชวัญชัย อรชร แรงบันดาลใจ : จากเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์ หรือพิธีโกนจุกของพระราชวงศ์ ที่จะมีการแต่งกายผู้เข้าพิธีด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์อย่างเต็มที่ตามธรรมเนียมโบราณ

MUT48 "เชอร์รี่ – จรรยา ต้นงาม" ชุดนบเถิงแถน ออกแบบโดย : ธีรวัฒน์ เจียงคำ แรงบันดาลใจ : เซิ้งบั้งไฟ ความเชื่อจากทั้ง ศาสนาผี และศาสนาพุทธ จากพหุวัฒนธรรม ในสังคมกสิกรรม ผ่านการจ่ายกาพย์เซิ้ง โดยสตรีผู้นำจ่ายกาพย์ สะท้อนภาพ ความเชื่อแบบมาตาธิปไตยในสังคมอีสาน ที่ยกย่องสตรีเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีหน้าที่เป็นผู้สื่อสารกับ ไท้ แถน ผี และทวยเทพยดา อันเหนือขึ้นไปกว่าโลกและมนุษย์ สู่การสร้างสรรค์ เครื่องแต่งกายประจำชาติ

MUT49 "เอิร์น – วรรวิสา ภู่โพล้ง" ชุดModern of Siam ออกแบบโดย : กาญจนา สถาวร แรงบันดาลใจ : ช่วงบนของชุดจะผ่าลูกไม้ตรงช่วงอก และ ปลายแขน เพื่อสื่อถึงลวดลายของการสานปลาตะเพียน ซึ่งเป็นภูมิปัญชาวบ้านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชั้นล่างจะเป็นกระโปรงสำเร็จรูปง่ายต่อการสวมใส่ใช้เป็นผ้าพิมพ์ลายที่แสดงถึงความเป็นอโยธยา

MUT50 "แครอท – ณิชกุล เสนาวงษ์" ชุดดุสิตาราชินี ออกแบบโดย : ห้องเสื้อบ้านทรายทอง by ฅน สร้าง ศิลป์ แรงบันดาลใจ : แรงบันดาลใจมาจากชุดไทยดุสิต หนึ่งในแบบชุดไทยพระราชนิยม ที่ตั้งชื่อตามพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตัวเสื้อตัดด้วยผ้าไหมสีพื้น ปักแต่งลายไทยด้วยลูกปัด ใช้กับผ้าซิ่นไหมยก ตัดแบบจีบหน้านางมีชายพก ผสมผสานกับฉลองพระองค์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

MUT51 "ปาย – ชนัญชิดา สุขดี" ชุดอรุณวโรนิกา dawn of diva ออกแบบโดย : เบญจพล อ่องนก และ ดลพร เยื่อแม้นพงศ์ แรงบันดาลใจ : ชุดอรุณวโรนิกา หรือ Dawn of Diva ได้ถ่ายทอดความงามของสตรีไทยผ่านการสร้างสรรค์พัสตาภรณ์อันวิจิต ผสานเข้ากับเอกลักษณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ของจังหวัดอ่างทอง เปรียบเหมือนเเสงเเรกที่ส่องกระทบผืนนาสีทองดั่งคำว่าอรุณวโรนิกา ซึ่งหมายถึง หญิงงามผู้ประเสริฐ เครื่องประดับ และ ศิราภรณ์ สร้างสรรค์ขึ้นจากไม้ไผ่สานประดับเพชร คริสตัล อะไหล่ทอง ให้มีความระยิบระยับจากภูมิปัญญาของชาวบ้านอ่างทองสู่อาภรณ์ที่ทรงคุณค่า

MUT52 "เอเชีย – อลงกรณ์ มิตรมนุษย์" ชุดเจ้าจอม ออกแบบโดย : อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อ ANUWAT แรงบันดาลใจ : ถ่ายทอดเรื่องราวการแต่งกายของภรรยาและเจ้าจอมในสมัยรัชกาลที่5 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสยาม ภายใต้รั้วแดงกำแพงวัง “สวนสุนันทา” เหล่าสตรีในพระราชสำนักฝ่ายใน เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องเครื่องแต่งกายอย่างชัดเจน เริ่มมีการแต่งกายอย่างตะวันตก เพื่อสอดรับกับการปรับเปลี่ยนบทบาทของสตรีตามกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ และปรับประยุกต์ให้เหมาะสม กลมกลืนกับความเป็น “ชาวสยาม” อย่างแท้จริง

MUT53 "แบม – ปณิดา สุทินเผือก"ชุดนฤมิตรกรรมหุ่นกระบอกอัครนารีสีดา ออกแบบโดย : อาร์ท อัครเนรมิตศิลป์ (นายอัครัช ภูษณพงษ์) แรงบันดาลใจ : การแสดงหุ่นกระบอกไทย เป็นการแสดงมหรสพของไทยที่มีมาแต่โบราณ เครื่องแต่งกายประยุกต์ออกแบบนางละคร กับ ชุดไทยศิวาลัย โดยใช้เทคนิคปักลายผ้าแบบโบราณและการต่อเชิงลายผ้าประจำจังหวัดสมุทรปราการมรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าควรอนุรักษ์จรรโลงไว้ซึ่งอันเป็นสมบัติของชาติสืบต่อไป

MUT54 "นิริน – สุนารี ชัยมุงคุณ" ชุดสยามจักรี ออกแบบโดย : ห้องเสื้อคุณแป๊ปเมืองเลย ร่วมกับคุณหรั่งฟาวเวอร์ แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมากจาก ชุดไทยในพระราชนิยม ชุดนำมาประยุกต์ผสมผสานความเป็นไทยจากเครื่องประดับอันทรงคุณค่าจากฝีมือคนไทย สไบปักทับด้วยสไบผ้าบาติกของชาวจังหวัดพังงา ในลวดลายของเขาตะปูสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา นำเสนอในรูปแบบของชุดไทยจักรี ที่มีความสง่างาม ทรงคุณค่าของความเป็นไทย ยกระดับผ้าบาติกสู่สากล ในชื่อชุด สยามจักรี

MUT55 "อิงอิง – วิชญาดา ชาติธีรรัตน์" ชุดสง่าดั่งนกยูง (The Peacock’s Beauty) ออกแบบโดย : อภิชาต สะอาดถิ่น ห้องเสื้อสมคิดเวดดิ้งแอนด์สตูดิโอ ชัยภูมิ แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนกยูง ซึ่งเป็นสัตว์มงคล และเป็นตัวแทนด้านโชค วาสนา และความสำเร็จ และนกยูงยังเป็นสัญลกัษณ์ของความสง่างาม ความสูงส่ง และความโชคดี จึงทำให้ผู้ที่ได้สวมใส่ชุดนี้นั้นจะได้รับโชคต่าง ๆ นั่นเอง

You May Also Like

More From Author